5 มกราคม, 2023
ในยุคของการใช้ข้อมูลเป็นจำนวนมากเพื่อทำการตลาดแบบ Personalization หรือการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการทำให้ลูกค้านั้นมีตัวเลือกที่เพิ่มมากขึ้นและตรงกับความต้องการของลูกค้า ไม่เหมือนกับการทำการตลาดในยุคก่อนที่แข่งขันกันแค่ในเรื่องของราคาเพียงเท่านั้น
เพราะฉะนั้นแล้วลูกค้าก็ต่างคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้สินค้าหรือบริการ เช่น การได้รับส่วนลดหรือโปรโมชั่นกับสินค้าหรือบริการที่ตนเองสนใจอยู่พอดี แปลว่าแบรนด์ต่างต้องมีการปรับตัวเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ และข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วนนั้นคือ First Party Data นั่นเอง
First Party Data คือ ข้อมูลที่ทางแบรนด์หรือองค์กรเป็นคนเก็บรวมรวบด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ตาม เช่น ระบบ CRM โปรแกรม POS คุกกี้บนเว็บไซต์ การเก็บข้อมูลทางโทรศัพท์ หรือบริการหลังการขาย ทั้งหมดนี้คือ First Party Data ที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเชื่อมโยงกับแบรนด์ และเนื่องจากมีการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ทำให้เมื่อเกิดปัญหา ก็จะสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง
Second-Party Data คือ ข้อมูล First Party Data ของผู้อื่น หรือแบรนด์อื่นๆ ที่ได้มีการได้รับต่อมา จากการซื้อโดยตรงหรือเป็น Partnership ทางธุรกิจกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทางธุรกิจ
Third Party Data คือ ข้อมูลที่ได้รับมาจากแหล่งภายนอกที่ไม่ใช่คู่แข่งหรือ Partnership แต่อาจจะเป็นกลุ่มธุรกิจหรือนิติบุคคลที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล และนอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมมาจากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ และเว็บไซต์ ที่ได้นำข้อมูลเหล่านี้มาขายต่ออีกทอดหนึ่ง
First Party Data ประกอบไปด้วย 2 ประเภทของข้อมูลด้วยกัน ดังนี้
• ข้อมูลพื้นฐาน: นั่นก็คือข้อมูลทั่วๆไปที่สามารถเก็บได้เมื่อลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายได้มีการลงทะเบียนเอาไว้กับทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ชื่อ ที่อยู่ และคุ้กกี้ เป็นต้น
• ข้อมูลความชอบความสนใจ: นอกจากข้อมูลทั่วๆไปที่เก็บได้จากการลงทะเบียนหรือทำแบบสอบถามแล้ว ข้อมูลที่สามารถเก็บได้หลังจากนั้นคือข้อมูลจำพวก ความสนใจ และ พฤติกรรม ของเหล่าลูกค้านั่นเอง เช่น สนใจค้าไหน สนใจหมวดหมู่ใด หรือมีพฤติกรรมในการซื้ออย่างไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดได้อย่างดี
ข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถนำมาต่อยอดและนอกจากนี้ยังมีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ เพราะเป็นข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมด้วยตนเอง และยังมีความเชื่อมโยงกับแบรนด์หรือธุรกิจของคุณอย่างแน่นอนเพราะข้อมูลนั้นมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นลูกค้าของคุณเอง
First Party Data มีความสำคัญดังนี้
• ตรงกลุ่มเป้าหมาย ตอบโจทย์ธุรกิจ: เพราะข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลด้วยตนเองผ่านทางช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ ต่างก็มั่นใจได้ว่ามาจากกลุ่มลูกค้าโดยตรงและสามารถนำไปวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้
• ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ: เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมเอง เพราะฉะนั้นจึงสามารถตรวจสอบได้และมีความมั่นใจในการใช้ข้อมูลมากกว่าที่ได้มาจากแหล่งอื่นๆ
• ต่อยอดได้และไม่มีค่าใช้จ่าย: การเก็บข้อมูลเองสามารถนำไปต่อยอดด้วยการทำให้กลายเป็น Second และ Third Party Data ให้กับแบรนด์อื่นได้ด้วย และแน่นอนว่าแบรนด์ตนเองก็ใช้ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
• พัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า: การใช้ข้อมูลจาก First Party Data ก็จะสามารถนำไปต่อยอดในการทำการตลาดแบบ Personalization ได้ นั่นก็คือการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ทำให้การทำการตลาดนั้นตรงใจและตรงตามความต้องการของลูกค้า
• สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์: เมื่อได้นำข้อมูลที่สามารถเก็บได้เองมาใช้ ก็จะเป็นการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการ และยังช่วยจูงใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำอีกด้วย
การใช้ประโยชน์จาก First Party Data ก็คือการนำข้อมูลมาสร้าง Customer Segmentation ของลูกค้าได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการหาลูกค้าใหม่ๆ การให้ลูกค้าที่มาซื้อเพียงครั้งเดียวกลับมาซื้อซ้ำหรือการสร้างกลุ่มลูกค้าประจำก็สามารถทำการ Retargeting ได้
เพราะฉะนั้นแล้วการใช้ First Party Data จึงสามารถนำมาปรับใช้งานได้อย่างหลากหลาย และเต็มประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากกว่าข้อมูลที่เก็บมาจากแหล่งอื่นๆนั่นเอง
ช่องทางในการเก็บ First Party Data มีดังนี้
โดยคุณสามารถใช้ระบบสมาชิกที่มีการเก็บข้อมูลได้มาช่วยในการเก็บ First Party Data ให้กับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วๆไปหรือข้อมูลอย่างประวัติการซื้อ หรือการเลื่อนระดับสมาชิก และความสนใจของลูกค้า
ระบบสะสมแต้ม เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเก็บข้อมูลด้วยตนเองหรือ First Party Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะบันทึกข้อมูลการใช้งาน ข้อมูลทั่วไป ประวัติการซื้อ และการสะสมแต้มของลูกค้า
โปรแกรม POS หรือ Point of Sale คือโปรแกรมที่ช่วยเหลือเรื่องการบริหารหน้าร้านอย่างมีระบบ เพราะฉะนั้นตัวโปแกรมเองก็ได้มีการเก็บข้อมูลของลูกค้าเมื่อมีการซื้อหรือจับจ่ายสินค้าหรือบริการด้วยเช่นกัน
ระบบ CRM เป็นระบบที่เน้นไปที่การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดีอยู่เสมอ ดังนั้นการใช้ข้อมูลจากระบบ CRM ก็จะช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงของลูกค้าได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะต้องมีการติดต่อเชื่อมโยงกับลูกค้า
วิธีการวางแผนเก็บและใช้ First Party Data มีดังต่อไปนี้
ก่อนอื่นต้องเริ่มด้วยการสร้างเป้าหมายในการใช้ข้อมูลว่าต้องการใช้เพื่อสิ่งใด เมื่อตั้งเป้าหมายสำเร็จ ก็ต้องย้อนกลับมาดูข้อมูลที่ธุรกิจสามารถเก็บรวบรวมมาได้ว่ามีครบถ้วนและเพียงพอแล้วหรือไม่ หากไม่ครบก็จำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการแบบครบถ้วน และต้องมีการขออนุญาตในการใช้งานข้อมูลตาม PDPA ว่าจะนำข้อมูลไปทำอะไร และสร้างประโยชน์อย่างไรให้แก่ลูกค้า
เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะมาจากช่องทางออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ ต่อมาก็คือการที่จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้ที่มีอยู่ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อให้เห็นถึง Customer Journey ของลูกค้า ว่าตั้งแต่ก่อนที่จะมาสนใจในสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร ไปจนถึงหลังจากได้ใช้สินค้าหรือบริการไปแล้ว เป็นอย่างไรบ้างนั่นเอง
หลังจากที่ได้ข้อมูลมาแล้วให้ทำการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามความแตกต่างของลูกค้า เช่น ความสนใจ พฤติกรรม ที่อยู่ เพศ ช่วงอายุ เพื่อให้เห็นภาพของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่มที่ชัดเจน แล้วต่อจากนั้นก็ต้องมีการนำมาทำ Personalized หรือวิเคราะห์แบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละกลุ่มที่แบ่งไว้
ต่อมาคือการนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปใช้งานจริง แยกไปตามกลุ่มที่ได้มีการแบ่งเอาไว้ และกลยุทธ์การตลาดต่างๆก็ต้องเหมาะสมและเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีด้วย หลังจากนั้นก็คือการวัดค่าของผลลัพธ์เพื่อนำมาต่อยอดหรือปรับปรุงในการทำการตลาดหรือการเก็บข้อมูล First Party Data ในครั้งต่อๆไป
แน่นอนว่าการทำ First Party Data ไม่ได้มีแค่แง่ดี แต่ก็ยังมีอุปสรรคในการเก็บข้อมูลด้วยตนเองอยู่ด้วยเหมือนกันดังนี้
หลายแบรนด์พึ่งพาแพลตฟอร์มต่างๆทั้งออนไลน์และออฟไลน์ในการเก็บข้อมูลมากเกินไป จึงเกิดเป็นปัยหาในระยะยาว เพราะข้อมูลที่ได้มานั้นอาจจะมีรายละเอียดที่ผิดเพี้ยนหรือไม่มากพอที่จะนำมาทำการวิเคราะห์
หลายธุรกิจหรือองค์กรมีการใช้ข้อมูลกันแค่ภายในฝ่ายหรือแผนกของตนเอง ไม่ได้มีการแชร์หรือแบ่งปันข้อมูลที่มีให้กับแผนกอื่นๆ จึงทำให้ข้อมูลบางอย่างไม่เชื่อมโยงกันและยังเป็นการเสียเวลาในการที่จะต้องไปเก็ยข้อมูล ทั้งๆที่มีข้อมูลอยู่แล้ว
ความยากในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า เพราะในปัจจุบันลูกค้าก็ต่างต้องการความเป็นส่วนตัว ป้องกันตนเองจากภัยคุกคามไซเบอร์ เพราะฉะนั้นการที่แบรนด์หรือธุรกิจต้องการจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลก็ต้องมีการขออนุญาตกับทางเจ้าของข้อมูลเสียก่อน ตาม PDPA นั่นเอง เพื่อสร้างความชัดเจนในการใช้งานและการเก็บข้อมูล ว่าเก็บอย่างไร เก็บอะไรบ้างและนำไปใช้งานอย่างไร
สรุปแล้ว First Party Data นั่นก็คือข้อมูลที่ทางแบรนด์ ธุรกิจ หรือองค์กร เป็นคนรวบรวมด้วยตนเอง จึงมีความน่าเชื่อถือและเที่ยงตรง สามารถนำไปใช้งานในการวิเคราะห์กลยุทธ์เพื่อทำการตลาดในรูปแบบ Personalized หรือการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงได้นั่นเอง ช่วยให้สามารถทำการตลาดออกไปได้ตรงกับใจของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นให้มาซื้อสินค้า ส่งผลให้ยอดขายพุ่งขึ้นอย่างแน่นอน
แต่หากคุณยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้แล้ว จะสามารถวิเคราะห์การตลาดได้ตามที่หวัง ก็สามารถใช้งาน Rocket ของพวกเราให้ช่วย ทำการตลาดออนไลน์ และ รับยิงแอด โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมพาคุณไปสู่เป้าหมายอย่างสุดความสามารถ
• Data Driven Marketing เป็นการบวนการที่ใช้ข้อมูลจากหลากหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลที่ได้รับโดยตรงจากลูกค้า หรือได้รับผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ให้เกิดมุมมองที่ทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้านั่นเอง ที่สำคัญคือสามารถคาดเดาแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอนาคตได้อีกด้วย
• PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 และ PDPA ย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ตามที่เจ้าของข้อมูลยินยอมและอนุญาต
• ระบบ CRM เป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาให้รองรับกลยุทธ์หรือความต้องการทางตลาด CRM กับลูกค้า เน้นที่การนำ “ซอฟต์แวร์” มาใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เพื่อมาวิเคราะห์ถึงความต้องการของลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึก รวมไปถึงวิเคราะห์การจับจ่ายของลูกค้า
Contact us now