Data-driven Marketing คืออะไร เหตุใดธุรกิจควรใช้ Data ในการตลาด

Data-driven Marketing คืออะไร เหตุใดธุรกิจควรใช้ Data ในการตลาด

เหตุผลที่ควรใช้ Data-Driven Marketing

30 พฤศจิกายน, 2022

ในยุคออนไลน์แบบนี้ที่ข้อมูลเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาส่งผลให้ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่ข้อมูลส่วนตัวทั้ง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อ แม้แต่พฤติกรรมการใช้งานของบุคคลนั้นๆ ก็ยังสามารถถูกเก็บไว้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วการใช้ Data เหล่านี้ในการทำการตลาด จึงได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของการทำการตลาดในยุคสมัยนี้

โดยเรียกกลยุทธ์การใช้ข้อมูลในการทำการตลาดแบบนี้ว่า Data-driven Marketing หรือการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล นั่นเอง

ยาวไปไม่อ่าน คลิกเลย

Contents hide

Data-Driven Marketing คืออะไร

Data Driven Marketing หรือ การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ก็คือ การบวนการที่ใช้ข้อมูลจากหลากหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลที่ได้รับโดยตรงจากลูกค้า หรือได้รับผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ให้เกิดมุมมองที่ทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้านั่นเอง ที่สำคัญคือสามารถคาดเดาแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอนาคตได้อีกด้วย ทำให้สามารถวางกลยุทธ์ได้ตรงกับลูกค้า

Data-Driven Marketing มีความสำคัญอย่างไร

Data-Driven Marketing มีความสำคัญ ดังนี้

1. Market Intelligence

คือการศึกษาข้อมูลเพื่อให้มีความเข้าใจในตลาด เข้าใจลูกค้า เข้าใจโอกาสทางธุรกิจนั่นเอง เช่นศึกษาขนาดของตลาด หรือศึกษาเทรนด์ของตลาด ณ ขณะนั้น

2. Segmentation & Insights

คือการนำข้อมูลมาหาข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมในการทำการตตลาด เพื่อให้สามารถเลือกใช้กลยุทธ์หรือแคมเปญที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้านั้นๆ

3. Performance Tracking & Decision Making

คือการเก็บข้อมูลและตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อวัดผลลัพธ์และนำมาปรับปรุงพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อสนับสนุนการจัดสินใจต่างๆ

ประโยชน์ของ Data-Driven Marketing

ประโยชน์ของ Data-Driven Marketing

1. เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

คือการนำข้อมูลที่ได้มามาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดในการทำการตลาดให้ตอบโจทย์กับลูกค้ามากขึ้น เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่จะกลายมาเป็ฯลูกค้า รวมทั้งทำให้ลูกค้ากลายมาเป็นลูกค้าประจำโดยสามารถใช้ข้อมูลด้าน  Demographic และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

2. ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

หากวัดผลลัพธ์จากข้อมูลได้ที่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้สามารถวางแผนและตัดสินใจในการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น ไม่ต้องเสียเวลากับการตลาดที่ไม่มีทิศทางที่ไม่แน่แน่นอน

3. ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์

สามารถใช้ข้อมูล หรือ Data ที่ได้มาจากการทำการตลาดออนไลน์จะช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

4. ตอบสนองกับลูกค้าได้แบบเรียลไทม์

การทำ Data-Driven Marketing จะทำให้แบรนด์สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างทันที ส่งผลให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายมากขึ้น มีโอกาสในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น

5. รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

Data-Driven Marketing จะทำให้แบรนด์รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าต่อไปได้อย่างดี เนื่องจากมีการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าแบบเจาะลึก ทำให้แบรนด์สามารถออกแบบสินค้า รวมไปถึงการบริการได้ตรงกับใจและความต้องการของลูกค้า

6. เพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาดแบบ Omni channel Marketing

Omnichannel เป็นการทำการตลาดจากทั้งช่องทางออนไลน์ และช่องทางออฟไลน์ เพราะฉะนั้นการใช้งานข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก และหากมีเครื่องมือช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลที่ดีอย่าง ระบบสมาชิก ก็จะยิ่งทำให้สามารถทำการตลาดได้แบบ Performance marketing และทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงได้อย่าง Personalized marketing ผสานกันอย่างไม่ติดขัด

เทรนด์ปัจจุบันของ Data-Driven Marketing มีอะไรบ้าง

เทรนด์ปัจจุบันของ Data-Driven Marketing มีดังนี้

1. Privacy VS Personalization

แบรนด์ต่างๆ กำลังเปลี่ยนกลยุทธ์การรวบรวมข้อมูลจากการเข้าใจลูกค้าดีขึ้นเป็นการเข้าใจลูกค้าให้ดีขึ้นไปอีก เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลหรือ PDPA แบรนด์จึงพยายามที่จะได้รับเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นจากลูกค้าเท่านั้น ความไม่พอใจอย่างกว้างขวางของลูกค้าที่มีต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่าง Facebook แสดงให้เห็นว่าการเก็บข้อมูลที่มากเกินความจำเป็นส่งผลลบให้กับแบรนด์ได้

หากคุณต้องการรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า ต้องอย่าลืมที่จะขออนุญาตและอย่าลืมแจ้งล่วงหน้าว่าจะใช้งานข้อมูลที่ได้มาอย่างไรด้วยวัตถุประสงค์ใด

2. Behavioral Data

ข้อมูลพฤติกรรมเป็นวิธีที่ได้จากการที่ลูกค้าโต้ตอบกับแบรนด์ และแหล่งที่มาทั่วไปของข้อมูลพฤติกรรม ได้แก่ เว็บไซต์ แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การติดต่อฝ่ายช่วยเหลือ และแชทบอท

โดยทั่วไปข้อมูลประเภทนี้จะสร้างและจัดเก็บในรูปแบบของเหตุการณ์ ซึ่งหมายถึงการกระทำที่ดำเนินการโดยผู้ใช้แต่ละรายไป

3. Integration

ความหลากหลายของเครื่องมือบันทึกรวบรวมข้อมูลที่ให้บริการแก่เหล่านักการตลาดกำลังขยายตัว โดยบริษัทจำนวนมากใช้แพลตฟอร์มและแนวทางแก้ปัญหาที่หลากหลายสำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ เครื่องมือเก็บข้อมูลสามารถวัดค่าหลักได้หลากหลายทั้ง การเข้าชมเว็บไซต์ การดูหน้าเว็บ และอัตราการคลิกผ่าน เพื่อแสดงผลที่ดีที่สุดสำหรับแบรนด์

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อมูลจำนวนมากที่ใช้งานอยู่ จึงจำเป็นต้องมีการผสานรวมข้อมูลและเครื่องมือกับแพลตฟอร์มที่ดีกว่านี้ เพื่อให้มีการส่งต่อของข้อมูลระหว่างระบบอย่างอิสระและลดความซับซ้อนลงไป

กลยุทธ์ในการทำ Data-Driven Marketing 

กลยุทธ์ในการทำ Data-Driven Marketing มีดังนี้

1. เป้าหมาย (Objective)

ขั้นตอนแรกและขั้นตอนที่สำคัญคือการตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้รู้ว่าจะต้องมีการเก็บข้อมูลอะไร ด้านใดบ้าง เพื่อวัตถุประสงค์นั้นๆ

2. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และประสบการณ์ลูกค้า (CRM/ CX)

การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นพื้นฐานในการทำการตลาดของแบรนด์ต่างๆอยู่แล้ว การพึ่งพาข้อมูลที่จำเป็นในการทำ CRM จึงจำเป็นอย่างมาก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำ และสามารถทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงได้อย่างดี หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยได้ดีสุดๆนั่นก็คือ ระบบ CRM ที่ช่วยเรื่อง CRM โดยเฉพาะ และยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีค่าได้อีก

3. การวิจัยตลาด (Market Research)

การศึกษาการตลาด เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจเป็นกระบวนการในการทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจจะส่งผลในการตัดสินใจของลูกค้า เพื่อใช้ในการวางแผนการตลาดวางกลยุทธ์ในครั้งต่อไปให้ได้่ผลที่ดีมากยิ่งขึ้น

4. การพัฒนาคน (People Development)

การพัฒนาคน เป็นการมุ่งพัฒนาคนให้มีแนวคิดและทักษะที่พร้อมจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว และนอกจากนี้ยังต้องการให้มีผลลัพธ์ในการทำงานที่ดีมากยิ่งขึ้น

5. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

เมื่อมีข้อมู,ที่ต้องการอย่างครบถ้วยแล้วนั้น ขั้นตอนต่อมาคือการนำข้อมูลที่ได้มามาวิเคราะห์เพื่อหาว่าธุรกิจต้องการที่จะรับรู้อะไร และรู้ไปเพื่อเหตุผลอันใด ทำให้สามารถเลือกรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาอย่างเหมาะสม และทำให้ใช้กลยุทธ์การตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลที่ใช้ทำ Data-Driven Marketing มาจากไหน

ข้อมูลที่ใช้ทำ Data-Driven Marketing มาจากแหล่ง 3 แหล่ง ได้แก่

1. ข้อมูล 1st Party

1st Party คือ ข้อมูลที่ทางแบรนด์เป็นเจ้าของเอง เพราะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเองจากกลุ่มผู้ใช้งานหรือลูกค้าของแบรนด์เองโดยตรง

2. ข้อมูล 2nd Party

2nd Party คือ ข้อมูล 1st Party ของคนอื่นหรือแบรนด์อื่นที่มีการได้รับมาจากการซื้อโดยตรงหรือเป็น Partnership ทางธุรกิจกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ

3. ข้อมูล 3rd Party

3rd Party คือ ข้อมูลที่ได้รับมาจากแหล่งภายนอก อาจจะเป็นกลุ่มธุรกิจหรือนิติบุคคลก็ได้ ที่รวมรวบข้อมูลขนาดใหญ่มาจากแพลตฟอร์มและเว็บไซต์ ล้วนำมาขายต่ออีกทอดหนึ่ง

เครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูลเพื่อ Data-Driven Marketing

เครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูลเพื่อ Data-Driven Marketing มีด้วยกันดังนี้

1. โปรแกรม POS

โปรแกรม POS เปรียบเสมือนผู้จัดการร้าน ที่จะคอยบันทึกข้อมูลการซื้อของลูกค้า ทั้งวันเวลา สิ่งที่ซื้อ จำนวนที่ซื้อ จำนวนเงินแต่ละครั้งในการใช้จ่ายของลูกค้า ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเชิงพฤติกรรมของลูกค้าที่สามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอดการตลาดได้อย่างดี

2. ระบบ CRM

ระบบ CRM เป็นระบบที่มุ่งเน้นการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและแบรนด์ และยังช่วยกระตุ้นการซื้อซ้ำของลูกค้า นอกจากนี้ยังสามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลายและเป็นระเบียบทำให้ง่ายในการนำข้อมูลมาใช้งาน

3. ระบบสะสมแต้ม

ระบบสะสมแต้ม เป็นระบบที่เน้นการกระตุ้นลูกค้าให้กลับมาจับจ่ายอีกครั้งด้วยการแลกคะแนนสะสมกับของรางวัล นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลที่มีค่าให้กับคุณได้อย่างง่ายดาย

4. ระบบสมาชิก

ระบบสมาชิก เป็นระบบที่ทำให้การจัดการสมาชิกหรือลูกค้าของร้านค้าของคุณสะดวกมากยิ่งขึ้น มีการปรับระดับของกลุ่มเพื่อรับสิทธิพิเศษที่มากขึ้น และยังสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างดี

5. Google Analytics

Google Analytics ทำให้แบรนด์หรือร้านค้าสามารถเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้นด้วยการอ่านและเก็บข้อมูลการเข้าเว็บไซต์ของร้าน ทั้งจำนวนคนเข้าเว็บ จำนวนครั้งที่ชม แหล่งที่มาของทราฟฟิค นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลอย่าง เพศ อายุ แหล่งที่อยู่ และความสนใจได้อีกด้วย

การวิเคราะห์ข้อมูลในการทำ Data-Driven Marketing

การวิเคราะห์ข้อมูลในการทำ Data-Driven Marketing นั้นที่จริงแล้วเป็นการนำศาสตร์ของการวิเคราะห์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้สำหรับด้านการตลาดโดยเฉพาะ มีกระบวนการดังนี้

ตัวอย่าง (Case Studies) ในการทำ Data-Driven Marketing

1. Spotify

Music Streaming ที่มีการนำเครื่องมือมาวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งาน และสร้างการแนะนำเพลงหรือเพลย์ลิสต์ที่คิดว่าผู้ใช้น่าจะสนใจ

Case study การทำ Data-Driven marketing ของ Spotify

2. Netflix

Movie Streaming เจ้าใหญ่ ใช้กลยุทธ์การผสมผสานทั้งศาสตร์ของ Data & Psychology ด้วยข้อมูลและบุคลิกความชอบในการนำมากระตุ้นผู้ใช้งาน

Case study การทำ Data-Driven marketing ของ Netflix

3. Amazon

เทพเจ้าแห่งวงการอีคอมเมิร์ซใช้เครื่องมือในการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานว่ามีความสนใจในเรื่องใด สินค้าใด ประวัติการซื้อ และมีการแนะนำสินค้าที่คิดว่าน่าจะชอบหรือเกี่ยวข้องให้กับลูกค้า

Case study การทำ Data-Driven marketing ของ Amazon

4. McDonald’s

แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดัง มีการนำสภาพอากาศ สภาพการจราจร และช่วงเวลา ณ ขณะนั้นๆเพื่อมาทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง สำหรับการขายแบบ Drive-Thru และ Delivery เช่น หากอากาศร้อนก็จะแนะนำสินค้าเป็นไอศครีมนั่นเอง

Case study การทำ Data-Driven marketing ของ McDonald

5. Target.com

ห้างสรรพสินค้าชื่อดังจากอเมริกา มีการจ้างนักสถิติเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าในการซื้อของ เพื่อทำนายสินค้าที่ลูกค้าน่าจะซื้อในครั้งถัดไปอย่างแม่นยำ

Case study การทำ Data-Driven marketing ของ Target.com

คำถามอื่น ๆ เกี่ยวกับ Data-Driven Marketing

1. คุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ยังคงสำคัญหรือไม่

คุณภาพของข้อมูลมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคุณภาพยิ่งดีก็จะยิ่งทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

2. ความท้าทายในการทำ Data-Driven Marketing มีอะไรบ้าง

3. ทำไมองค์กรที่ใช้ Data-Driven Marketing ถึงประสบความสำเร็จมากกว่า

เพราะมีความเข้าใจในตัวของลูกค้ามากกว่าด้วยข้อมูลเชิงลึกที่มีผ่านการวิเคราะห์ทางการตลาดเพื่อให้ได้กลยุทธ์ที่ดีที่สุด

4. ทำไม CX ยังคงสำคัญในการทำการตลาดแบบ Data-Driven

เพราะประสบการณ์ของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อ หากประสบการณ์ดีก็จะมีโอกาสในการซื้อได้ง่ายและสามารถกระตุ้นให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำได้ง่ายเช่นกัน

สรุปเกี่ยวกับ Data-Driven Marketing

Data Driven Marketing เป็นการบวนการที่ใช้ข้อมูลจากหลากหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลที่ได้รับโดยตรงจากลูกค้า หรือได้รับผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ให้เกิดมุมมองที่ทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้านั่นเอง การทำการตลาดในรูปแบบนี้ต้องอาศัยเครื่องมือและนักการตลาดที่มีความรู้ความสามารถในระดับหนึ่ง และ Rocket ของเราก็สามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้อย่างดี ด้วยบริการ รับทำการตลาดออนไลน์ และ รับยิงแอด ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หากสนใจท่านสามารถติดต่อเราได้ตลอดเวลา


shapeshapeshape

ลงทะเบียน รับคำปรึกษาฟรี!

รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Martech และ Business Transformation

Rocket BLOG

MarTech knowledge to help you stay ahead of the curve.

Customer Retention

Customer Retention การรักษาลูกค้าเก่าให้นานที่สุดทำอย่างไร

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้สามารถเดินหน้าต่…

#MARKETING
Referral Program

Referral Program คือ ลูกค้าเก่าแนะนำลูกค้าใหม่ให้ซื้อสินค้าและบริการ

การทำธุรกิจให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จำเป็นต้องใช้เทคนิคกระตุ้นยอดขายด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อทำให้ทั้งล…

#MARKETING
Data Warehouse คืออะไร

Data Warehouse คืออะไร? ไม่อยากตก เทรนด์ Data ต้องรู้เอาไว้

ในโลกของการตลาดดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อมูล หรือ Data กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อแบรนด…

#MARKETING

แอดไลน์เพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญการตลาด

แอดไลน์

Now, you can engage like a digital giant