Gamification Marketing เกมเป็นกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลธุรกิจ

Gamification กลยุทธ์การใช้เกมเพิ่มยอดขายธุรกิจ

Gamification

2 เมษายน, 2024

หากพูดถึงกลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบันนั้น มีมากมายหลายรูปแบบให้เลือกนำมาใช้งานตามความเหมาะสมของสินค้า หรือบริการ ซึ่งกิจกรรมรูปแบบต่างๆ จะมีกระบวนการและเทคนิคพิเศษที่นำมาใช้แตกต่างกันออกไป หนึ่งในรูปแบบกิจกรรมที่นำมาสร้างเพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความสนใจ และสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เป็นอย่างดีก็คือ Gamification ในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่า Gamification คืออะไร สามารถช่วยในกระบวนการขายทางการตลาด หรือ Gamification in sales and marketing อย่างไรบ้าง และเทคนิคการทำ Gamification Marketing ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้นมีขั้นตอนอย่างไร

สารบัญบทความ hide

Gamification คือ เทคนิคการนำเกมมาใช้ให้เกิดการซื้อ – ขาย

Gamification คือ กระบวนการที่ใช้หลักการและเทคนิคการนำเกม หรือองค์ประกอบของเกมมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นพฤติกรรมให้กับผู้ที่สนใจ หรือผู้ใช้บริการเข้ามาเลือกซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มมากขึ้น โดยนำหลักการและเทคนิคที่ใช้ในการออกแบบ และพัฒนาเกมมาประยุกต์ใช้ ในบริบทต่างๆ เช่น การให้รางวัล, การแข่งขัน, การเก็บแต้ม, หรือการประเมินผล เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจและกระตุ้นแบรนด์สินค้า หรือบริการให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น เรียกได้ว่าเป้าหมายหลักของ Gamification คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการกระตุ้น และส่งเสริมพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยใช้เกมและสมการที่มีอยู่ในบริบทที่ต่างกันให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร หรือกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องนั่นเอง


เหตุผลที่ทำให้ Gamification เป็นที่นิยมในยุคธุรกิจดิจิทัล

ด้วยความที่เกม สามารถเล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย จึงทำให้หลายๆ ธุรกิจนำหลักการและเทคนิคมาปรับใช้ในการวางแผลกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ แต่ทั้งนี้การเลือกกิจกรรม Gamification Marketing ก็จะขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละรูปแบบเป็นหลัก ซึ่งก็จะมีเหตุผลในการเลือกใช้รูปแบบกิจกรรมนี้ที่แตกต่างกันออกไป เรามาดูเหตุผลในด้านต่างๆ กันว่าเพราะเหตุใดกระบวนการ Gamification in sales and marketing จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากที่สุด

1. ผู้คนในยุคปัจจุบันมีความผูกพันธ์กับการเล่นเกม

ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังคงชื่นชอบการเล่นเกม ไม่ว่าจะเล่นผ่านเว็บ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งทำให้การเลือกเทคนิค Gamification เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางการตลาด เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สำคัญ ที่จะทำให้มีลูกค้าเข้ามาสนใจเลือกซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มมากขึ้น

2. ผู้คนส่วนใหญ่เสพติดความรู้สึกของการเป็นผู้ชนะ

การเสพติดความรู้สึกของการเป็นผู้ชนะ ในการเล่นเกมเป็นแรงกระตุ้นอย่างดี ที่จะทำให้ธุรกิจสินค้า หรือบริการเป็นที่รู้จักได้ง่าย โดยเฉพาะมีแรงจูงใจเป็นรางวัล หรือคะแนนสะสมต่างๆ จะยิ่งทำให้ได้รับการตอบสนองที่ดีมากยิ่งขึ้น

3. เพิ่มความสนุกสนานและสร้างสีสันให้กับลูกค้า

Gamification ช่วยสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจ และเกิดความรู้สึกสนุกสนานให้กับลูกค้า การนำเอาองค์ประกอบของเกมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การให้รางวัล หรือการแข่งขัน จะช่วยสร้างความตื่นเต้นและความสนุกสนาน รวมไปถึงยังเสริมการเป็นที่รู้จักให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี หรือ Brand Awareness


องค์ประกอบของ Gamification Marketing มีอะไรบ้าง

Gamification คืออะไร

Gamification Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้หลักการและเทคนิคของเกมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างความสนใจและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งในส่วนขององค์ประกอบหลักในกระบวนการ Gamification Marketing นั้น จะประกอบด้วย

1. เป้าหมาย (Goals)

การมีเป้าหมาย และภารกิจที่ชัดเจน รวมไปถึงมีความท้าทาย จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ามีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม

2. กฎหรือกติกา (Rules)

กฎ หรือข้อกำหนดในเกม ของกิจกรรม Gamification เพื่อให้ผู้เล่นทำตามข้อกำหนดของการจัดการแข่งขัน หรือกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความสนุกสนาน และกระตุ้นให้ลูกค้ามีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม

3. ด่าน (Level)

การใช้ระบบระดับ เพื่อให้ลูกค้าทำกิจกรรมได้สำเร็จตามกิจกรรมที่กำหนด จะช่วยสร้างความสนุกสนานและความตื่นเต้นให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดีมากขึ้น

4. คะแนน (Score)

การให้รางวัล และแต้มสะสมเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้กับลูกค้าในการเข้าร่วมกิจกรรม หรือทำการซื้อสินค้า หรือบริการ เช่น การให้แต้มสะสม คะแนนสำหรับการซื้อสินค้า หรือการทำภารกิจที่กำหนด

5. ความขัดแข้ง ความร่วมมือ และการแข่งขัน (Conflict, Competition, or Cooperation)

สำหรับในด้านของ ความขัดแย้ง (Conflict) ทางด้านกลยุทธ์ทางการตลาดนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่เน้นไปที่การแข่งขัน ดังนั้นจึงเป็นไปแนวทางที่ให้ความร่วมมือ เพื่อให้ภารกิจสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการ

6. เวลา (Times)

การจำกัดเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม หรือการแข่งขัน ทำให้ลูกค้ามีความกระตือรือร้นและมีความตื่นเต้นในการทำกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด

7. รางวัล (Reward)

การให้รางวัลเมื่อผู้ใช้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เมื่อผู้ใช้ทำการซื้อสินค้าครบจำนวนที่กำหนด หรือเมื่อผู้ใช้เสร็จสิ้นภารกิจบางอย่างที่กำหนดไว้ในแอปพลิเคชัน


ขั้นตอนการทำ Gamification Marketing

หลักการออกแบบเกมนั้น มีองค์ประกอบที่หลากหลาย ดังนั้นการเลือกทำกิจกรรม Gamification Marketing ก็จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในด้านต่างๆ มาปรับใช้เพื่อให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากที่สุดด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนของขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ นั้นมีดังนี้

1. การวางกลุ่มเป้าหมาย

ศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ความต้องการและความสนใจให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้การทำ Gamification เกิดความเหมาะสมและมีความน่าสนใจ

2. การวัดความสำเร็จของเป้าหมายทางการตลาด

กำหนดเป้าหมายทางการตลาดที่ชัดเจน เช่น เพิ่มยอดขาย สร้างผู้ติดตาม เพิ่มความสนใจ หรือการเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เรื่องต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางการตลาดได้เป็นอย่างดี

3. การวางแผนใช้ประโยชน์จากเครื่องมือของผู้บริโภค

ทำการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรม ความต้องการ และความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความต้องการ และประสิทธิภาพของเครื่องมือในการทำ Gamification ที่เหมาะสม

4. การวางแผนเรื่องการเติบโตและโครงสร้างของเกม

ออกแบบเกมโดยใช้หลักการของ Gamification เพื่อสร้างความน่าสนใจ และสร้างความสนุกสนานให้กับผู้เล่น โดยมีการกำหนดกฎเกม การตั้งเป้าหมาย และสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ผู้เล่นได้รับคะแนน หรือรางวัลต่างๆ การพัฒนาเกมตามแผนการออกแบบ และวิจัยที่ได้รับการวิเคราะห์ และนำเสนอเกมให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. การสร้างวงจรของปฎิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาผลลัพธ์

เลือกและออกแบบระบบ Gamification ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย โดยคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ การพัฒนาและนำเสนอระบบ Gamification ตามที่ออกแบบไว้ โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสม และติดตามความสำเร็จ พร้อมรับข้อเสนอแนะ จากนั้นวัดผลการใช้งานของระบบ Gamification เพื่อประเมินประสิทธิภาพและทำการปรับปรุงต่อไป


ประเภทของ Gamification Marketing 

กระบวนการทำ Gamification Marketing เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี จะขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งก็ได้มีการแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1. Transmedia

เน้นการนำเสนอประสบการณ์ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ในแนวทางการตลาด โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง และมีความสัมพันธ์กับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์

2. Brandification

เน้นการใช้เกม หรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างและเพิ่มความรู้สึกต่อแบรนด์ของบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มความสนใจและความประทับใจให้กับลูกค้า

3. Advergame

Advergames เป็นเกมที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือการโฆษณาและการตลาดสินค้า หรือบริการ เป็นการรวมการเล่นเกมกับการโฆษณาที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น

4. Alternate Reality Games

การใช้เกมแบบทางเลือกในการสร้างประสบการณ์ที่มีการผสมผสานระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกเสมือน โดยมีเหตุการณ์ และกิจกรรมเกิดขึ้นในโลกจริง และผู้เล่นจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปริศนา หรือแก้ไขปัญหาที่ได้รับจากเกม

5. Experiential Marketing

เน้นการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ และมีความหมายสำหรับผู้ใช้ โดยการใช้เกม หรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการเข้าสังคม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือการทดลองสินค้าหรือบริการ


ตัวอย่างการใช้งาน Gamification

ตัวอย่าง Gamification

ตัวอย่างการใช้งาน Gamification ในบริบทต่างๆ นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น

เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์บางแห่งใช้ระบบรางวัล และระบบระดับเพื่อกระตุ้นความสนใจให้กับผู้เรียน โดยให้แต้มสะสม หรือเครดิตเมื่อผู้เรียน ได้เรียนรู้เนื้อหา หรือทำโจทย์ที่ต้องการ

บางธุรกิจใช้ Gamification เพื่อสะสมคะแนน หรือแต้มสะสมให้กับลูกค้าที่ทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การซื้อสินค้า การแชร์บทความ หรือการร่วมกิจกรรม

บางแบรนด์ใช้การแข่งขันในสังคมออนไลน์ เช่น การแข่งขันถ่ายรูป หรือการสร้างเนื้อหา โดยมีการให้รางวัลหรือสิทธิพิเศษแก่ผู้ชนะเพื่อสร้างความสนใจ

บางบริษัทใช้ Gamification เพื่อฝึกพนักงาน หรือพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการให้แก้โจทย์ หรือข้อมูลเชิงธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มเกม

บางเว็บไซต์การท่องเที่ยวใช้ Gamification เพื่อสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น การค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว การนำทางในเกม หรือการแข่งขันในการค้นหาสิ่งของและสถานที่

การใช้ Gamification สามารถช่วยให้บริษัท หรือแบรนด์สร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจให้กับผู้ใช้ และส่งผลให้เกิดการติดตามและเพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ หรือบริการได้เป็นอย่างดีในอนาคต


ประโยชน์ของ Gamification

หลังจากที่ได้ทำความรู้จัก และเหตุผลในการทำ Gamification กันไปแล้วคราวนี้เรามาดูในเรื่องของประโยชน์ที่จะได้รับจากกิจกรรมนี้กันบ้างว่ามีอะไรบ้าง

1. พัฒนาคุณภาพการสร้างความผูกพันธ์กับลูกค้า ทำให้เกิด Brand Loyalty

กิจกรรม Gamification จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดี และช่วยให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานขึ้นในใจลูกค้า การเปลี่ยนกิจกรรม หรือกระบวนการทางธุรกิจให้กลายเป็นเกมที่สนุกและน่าสนใจ เช่น การแข่งขัน, การเก็บแต้ม, หรือการเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้

2. รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค

ผู้บริโภคที่มีส่วนร่วม ในกิจกรรมของแบรนด์ จะได้รับประสบการณ์ที่ดี และยังช่วยส่งเสริมความผูกพันธ์และความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

3. กระตุ้น Brand Awareness ได้ดียิ่งขึ้น

การเล่นเกม หรือกิจกรรม Gamification ช่วยทำให้ผู้ใช้มีโอกาสที่จะแบ่งปันประสบการณ์ และข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการกระจายของข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ

4. เพิ่มโอกาสการขายและกระตุ้นยอดขายสินค้าให้มีมากขึ้น

ระบบรางวัล และการแข่งขันในเกม Gamification ช่วยสร้างการติดตามและการเข้าถึงสินค้า หรือบริการได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ


กลยุทธ์ Gamification เพิ่มยอดขายพิชิตโลกดิจิทัล 

Gamification เป็นการนำหลักการและเทคนิคที่ใช้ในเกมมาประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นๆ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพฤติกรรมของลูกค้า ให้เข้าถึงสินค้า หรือบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยกระตุ้นยอดขาย การเข้าถึงแบรนด์สินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งการสร้างประสบการณ์ที่ดี มีความน่าสนใจ และก่อให้เกิดความสนุกสนานกับผู้ใช้ ทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมและมีความสุขกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ผ่านการให้รางวัล หรือระบบแต้มสะสม เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่ากิจกรรม Gamification เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญและมีประสิทธิภาพต่อธุรกิจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าหากใครอยากจะทำ Gamification เพื่อเพิ่มความน่าสนใจทางธุรกิจ ทาง Rocket มีบริการ ระบบสะสมแต้ม ที่สามารถดีไซน์ออกมาในลักษณะเกมเพื่อเพิ่มความสนุก เพิ่มโอกาสสร้างยอดขาย และยังสามารถช่วยสร้าง Brand Loyalty ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


shapeshapeshape

ลงทะเบียน รับคำปรึกษาฟรี!

รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Martech และ Business Transformation

Rocket BLOG

MarTech knowledge to help you stay ahead of the curve.

archetype-loyalty-program

4 Archetype ของลูกค้า เพิ่มยอดขายให้พุ่งด้วยระบบสะสมแต้ม

เจาะลึกถึง Archetype ของลูกค้า ได้แก่ Idles, Influencers, Deals และ Ideals ด้วยการสร้าง Loyalty Prog…

#MARKETING
go-green-loyalty-program

แบรนด์ยุคใหม่ ไม่ Go Green ไม่ได้แล้ว

ในสภาพแวดล้อมการแข่งขันในปัจจุบัน Green Loyalty แบบ Go Green ไม่ใช่แค่ “สิ่งที่ดีที่จะมี&#8221…

#MARKETING
popmart-marketing

กลยุทธ์การตลาดร้าน POP MART ทำไมถึงขายดี

ร้าน pop mart ได้เข้ามาครองใจผู้คนทั่วโลกด้วยการผสมผสานระหว่างของเล่นศิลปะ วัฒนธรรมการสะสม ความลับสู…

#MARKETING

LINE

Call

Free trial

test

Contact

Contact us now

test

✓ Valid number ✕ Invalid number
This field is for validation purposes and should be left unchanged.

Stronger loyalty, through smarter engagement