Brand Awareness คืออะไร แชร์เทคนิคสร้างแบรนด์อย่างไรให้คนจดจำ

Brand Awareness คืออะไร แชร์เทคนิคสร้างแบรนด์อย่างไงให้คนจดจำ

Brand Awareness คืออะไร

13 กุมภาพันธ์, 2023

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทไหนก็คงอยากให้แบรนด์ของตัวเองนั้น เป็นที่รู้จักอย่างกว้างไกล และอยู่ในใจของลูกค้าทุกคนในระยะยาว ซึ่งการที่แบรนด์จะไปถึงจุดนั้นได้ ไม่ได้มีเพียงแค่การสร้างยอดขายให้สูงลิบลิ่ว หรือยิงแอดโปรโมทไปเรื่อยๆอย่างไร้เป้าหมาย แต่ยังรวมถึงการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและมี Brand Awareness ที่ดี แล้ว Brand Awareness คืออะไรล่ะ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ ตามไปอ่านกันเลย!


ยาวไปไม่อ่าน คลิ๊กเลย hide

Brand Awareness คืออะไร 

บางท่านอาจจะเคยเห็นคำว่า Brand Awareness ผ่านตากันมาก่อนบ้างแล้ว แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่เคยได้รู้จักคำนี้เลย 

Brand Awareness คือ การรับรู้แบรนด์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน แล้วทีนี้ โดยการสร้าง Brand Awareness จะต้องเริ่มจากมี Branding ที่แข็งแรงก่อน ซึ่ง Branding คือ การสร้างแบรนด์ด้วยกลยุทธ์หาจุดเด่นให้สินค้า โดยผ่านการวิจัย พัฒนา และนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องไปกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของแบรนด์นั้นๆ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ รวมถึงสร้าง Brand Identity เพื่อให้รู้ว่าแบรนด์นั้นคือใคร มีความแตกต่างจากคู่แข่ง หรือมีความพิเศษกว่าแบรนด์อื่นอย่างไร เพราะการทำแบรนด์ให้เป็นที่จดจำในตลาดได้ ก็เป็นก้าวใหญ่ในความสำเร็จของแบรนด์คุณ

แล้ว Brand Awareness มีวัตถุประสงค์ขึ้นเพื่ออะไรกัน? นั่นก็เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่รูัจักและจดจำได้ในวงกว้าง โดยคุณอยากให้ลูกค้ามองมาที่แบรนด์ของคุณแล้วนึกถึงอะไร จดจำแบรนด์คุณจากอะไร โดยอาจจะเห็นแค่สี หรือโลโก้ ก็นึกถึงแบรนด์คุณได้ในทันที 

ซึ่งในการที่จะสร้าง Brand Awareness ที่สำเร็จได้นั้น คุณจะต้องรู้จักอีก 2 คำ คือ อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)  และ ความเชื่อมโยงกับแบรนด์ (Brand Associate)

อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)

อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) หรือพูดง่ายๆว่า ภาพแรกที่ลูกค้าเห็นแบรนด์คุณนั้นคืออะไร แน่นอนว่าต้องเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกประทับใจและสนใจ ซึ่งคุณสามารถกำหนดมันได้ด้วยตัวเอง เช่น ชื่อแบรนด์, สีโลโก้, เพลง, หรืออาจจะเป็น การตกแต่งร้านที่โดดเด่ดเป็นสไตล์ของแบรนด์คุณเอง ก็ทำได้เช่นกัน 

ความเชื่อมโยงกับแบรนด์ (Brand Associate)

ต่อมา คุณจะต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของคุณก่อนว่า พวกเขาเป็นแบบไหน และมีอะไรที่แบรนด์ของคุณจะสามารถนำมาเชื่อมโยงให้เข้าถึงพวกเขาได้บ้าง เช่น หากลูกค้าของคุณเป็นกลุ่มผู้หญิงวัยเรียน คุณก็นำข้อมูลตรงนี้มาต่อยอด สร้างโลโก้ให้มีความน่ารัก ใช้สีสัน ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสนใจและเลือกใช้แบรนด์ของคุณ


การทำ Brand Awareness สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร 

ความสำคัญต่อธุรกิจของ Brand Awareness

ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจประเภทไหน หรือมีคุณภาพสินค้ายอดเยี่ยมมากขนาดไหน แต่กลับเป็นแบรนด์ที่ไม่มีลูกค้าคนใดเคยได้ยินชื่อหรือรู้จักแบรนด์ของคุณเลยนั้น บอกเลยว่าคุณคงจะเจอปัญหาหนักเข้าให้แล้วล่ะ เพราะ Brand Awareness คือตัวการสำคัญที่จะทำให้แบรนด์ของคุณกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หากคุณสามารถดึงดูดให้ลูกค้ามาสนใจและ 

1. ทำให้เกิดการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ หรือ บริการของแบรนด์  

การสร้าง Brand Awareness จะทำให้ลูกค้าเกิดการรับรู้ตัวตนในผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ ยิ่งคุณมีภาพลักษณ์ที่ดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยดึงให้ลูกค้าเข้ามาสนใจ และเริ่มจดจำแบรนด์ของคุณได้

2. ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ หรือ บริการของแบรนด์ 

Brand Awareness ยังช่วยให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของแบรนด์อีกด้วย ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้พวกเขาตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแบรนด์ของคุณได้ง่ายมากขึ้นไปอีก และยังเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะกลับมาซื้อซ้ำสินค้าของเราใหม่อีกเรื่อยๆ เพราะ Brand Loyalty ทีเ่กิดขึ้นหลังจากที่เลือกใช้แบรนด์ของคุณ

3. ช่วยสร้างมูลค่าให้แบรนด์ 

เมื่อแบรนด์ของคุณนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น คุณสามารถต่อยอดให้แบรนด์ของคุณนั้นมีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้นไปอีกได้ โดยการพัฒนาแบรนด์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพิ่มสินค้าให้เยอะขึ้นจากเดิม หรือเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้นอีกเล็กน้อย โดยที่ลูกค้ายังคงจะเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ของคุณต่อไปอย่างแน่นอน เพราะพวกเขามีความไว้วางใจและประทับใจในแบรนด์ของคุณ ทำให้ยิ่งเกิดผลกำไรที่สูงขึ้นไปอีกในระยะยาว

4. ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง 

เป้าหมายสำคัญของ Brand Awareness คือการทำให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ได้ และเป็นภาพจำที่ลูกค้านึกถึงแบรนด์ของคุณเป็นอย่างแรก ดังนั้นการสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ เพื่อให้แบรนด์มีความแตกต่างจากคู่แข่ง ก็จะยิ่งทำให้คุณได้เปรียบกว่าแบรนด์อื่นๆที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ยิ่งกลุ่มเป้าหมายของคุณจดจำแบรนด์ได้มาก ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะเลือกซื้อแค่สินค้าจากแบรนด์ของคุณมากยิ่งขึ้น

หลักการสร้าง Brand Awareness 

โดยหลักการสร้าง Brand Awareness คือ การพยายามทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถทำได้หากคุณมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดี ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 เป้าหมายด้วยกัน คือ 

•   Brand Recall

คือ การที่ลูกค้าสามารถระลึกถึงแบรนด์ของคุณได้ทันที โดยไม่จำเป็นจะต้องมีการกระตุ้นเข้ามาช่วย เช่น เพลงประกอบโฆษณาแลคตาซอย “แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตร” ซึ่งเป็นประโยคยอดฮิตติดหูที่บอกทั้งราคาและปริมาณ ทำให้เมื่อคนได้ยินถึงจะนึกออกว่านี่คือแบรนด์สินค้าอะไร แม้จะได้ยินเพียงแค่ทำนองก็ตาม  

•   Brand Recognition

คือ การที่ต้องมีสิ่งกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจำแบรนด์ของคุณได้แม่นยำขึ้น เช่น  โลโก้เครื่องดื่ม Pepsi ที่มีลักษณะเป็นวงกลม และมีสีแดง น้ำเงิน ขาว เป็นเอกลักษณ์ เมื่อลูกค้าเห็นก็นึกออกได้ทันทีว่านี่คือแบรนด์อะไร เป็นแบรนด์สินค้าที่อยู่หมวดหมู่ใด ซึ่งต่อให้ Pepsi ผลิตเครื่องดื่มชนิดอื่นเพิ่มขึ้นมา แต่เมื่อเห็นโลโก้นี้ลูกค้าก็ยังจำได้ว่านี่แบรนด์ Pepsi


ระดับของ Brand Awareness 

1. Unaware Of Brand

Brand Unawareness

ในขั้นแรก ลูกค้าจะยังไม่รับรู้การมีตัวตนอยู่ของแบรนด์คุณเลยด้วยซ้ำ ไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นชื่อ หรือคุณอาจจะเคยยิงแอดผ่านตาพวกเขา แต่กลับไม่สามารถทำให้พวกเขาจดจำชื่อแบรนด์ของคุณได้เลย ดังนั้น คุณจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของคุณก่อนว่า พวกเขาชอบเนื้อหาแบบไหน หรือสะดวกใช้งานช่องทางไหนมากที่สุด เพื่อนำไปวางแผนกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสำเร็จ 

2. Brand Recognition

Bible teaching

สำหรับขั้นนี้ จะเป็นขั้นที่พวกเขาเริ่มจะรู้จักแบรนด์ของคุณขึ้นมานิดนึงแล้ว! แต่ยังไม่มากพอที่จะสามารถจำชื่อแบรนด์ของคุณได้ภายในทันที หรือรู้จักแบรนด์ของคุณ แต่ไม่รู้ว่าเป็นสินค้าในหมวดหมู่ไหน นั่นก็เพราะว่าลูกค้ายังไม่สามารถจดจำคุณที่เป็นคุณได้เลย ดังนั้น คุณจึงต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของคุณได้

3. Brand Recall

Woman thinking

ต่อมา คือขั้นที่ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของคุณได้ในทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งกระตุ้นเข้ามาช่วย เช่น เมื่อถามถึงแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย ทุกคนจะตอบขึ้นมาว่า มาม่า เป็นอันดับแรก เพราะเป็นชื่อที่เขาสามารถนึกถึงขึ้นมาได้เลยในทันที เมื่อพูดถึงสินค้าที่เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 

โดยการรับรู้ในระดับ Brand  Recall นัั้นถือว่ามีประโยชน์ต่อแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่ลูกค้าจะเลือกซื้อแบรนด์ของคุณมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าก่อนจะมาถึงขั้นนี้ แบรนด์จึงต้องสามารถทำให้ลูกค้านั้นแยกแยะแบรนด์ตัวเองออกจากคู่แข่ง และทำให้พวกเขาเห็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครได้  

4. Top of Mind 

Top of Mind Brand

และนี่คือระดับขั้นที่ทุกๆแบรนด์ล้วนอยากจะมาถึงกันอย่างแน่นอน เพราะนี่คือ Brand Awareness ในระดับที่แบรนด์ของคุณกลายเป็นที่จดจำของลูกค้าโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกระตุ้น และยังเป็นแบรนด์อันดับต้นๆที่ลูกค้าจะเลือกซื้อเสมอ เมื่อนึกถึงสินค้าที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เพราะเป็นที่จดจำว่านี่คือแบรนด์คุณภาพดี เป็นภาพจำของสินค้าประเภทนั้นๆ 

ซึ่งการที่จะสร้าง Brand Awareness มาถึงขั้นนี้ได้นั้น แบรนด์ของคุณจะต้องมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และแตกต่างมากพอที่จะแยกแบรนด์ตัวเองออกจากคู่แข่งในท้องตลาดที่มีจำนวนมากได้ ซึ่งจะต้องผ่านวางแผน ทำโฆษณาเพื่อสื่อสารจุดเด่นของแบรนด์ให้ลูกค้าเห็นแล้วรู้สึกเชื่อใจในแบรนด์ และเลือกให้แบรนด์ของคุณกลายเป็นที่หนึ่งในใจของพวกเขา


เทคนิคการทำ Brand Awareness ให้ประสบความสำเร็จ 

1. วิเคราะห์สินค้า ผลิตภัณฑ์ และ กลุ่มเป้าหมาย

ก่อนจะเริ่มทำ Brand Awareness คุณต้องมีความเข้าใจในแบรนด์ของตนเองก่อนว่า สินค้าของคุณเป็นอย่างไร จัดอยู่ในประเภทใด และมีกลุ่มเป้าหมายแบบไหน เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลที่ได้นั้นมาวางแผนสร้างกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ของคุณ 

2. สร้าง Content ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 

เมื่อคุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของคุณ ต่อมาคือการสร้าง Content ที่จะสามารถเจาะเป้าหมายได้ตรงตามความต้องการของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น หากกลุ่มเป้าหมายของคุณคือ  คุณก็ต้องทำเนื้อหาไปในทางที่จะสามารถดึงดูดความสนใจของคนกลุ่มนี้ให้ได้ โดยอาจจะเลือก

3. โปรโมทผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ ด้วยการลงโฆษณา 

การโปรโมทผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นจุดที่จะสามารถดึงลูกค้ามาหาแบรนด์ของคุณได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินค้าประเภทไหน ก็ต้องมีการลงโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การใช้ Facebook Ads ยิงไปตามกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของคุณ เพื่อให้ผ่านตาลูกค้าและดึงให้พวกเขามาสนใจในตัวแบรนด์

4. จ้าง Influencer รีวิวผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ 

อีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมของหลายๆแบรนด์ในปัจจุบัน คือการจ้าง Influencer มารีวิวผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์มากยิ่งขึ้น เพราะลูกค้าหลายๆคนจะเลือกเชื่อจากผู้ใช้งานคนอื่นมากกว่า การมีรีวิวจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยสร้าง Brand Awareness ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

5. จัดกิจกรรมบน Social Media 

และสุดท้ายคือ การจัดกิจกรรมบน Social Media ซึ่งก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างไปตามแคมเปญที่แบรนด์นั้นๆจะเลือกใช้ เช่น จัดกิจกรรมตอบคำถามในเพจ Facebook หรือให้ลูกค้ามาตอบคอมเม้นท์ร่วมสนุก เพื่อให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับแบรนด์ โดยอาจจะมีรางวัลตอบแทนเพื่อสร้างความรู้สึกพิเศษและสำคัญ เพื่อทำให้พวกเขาจดจำแบรนด์ของคุณได้มากยิ่งขึ้น


ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการทำ Brand Awareness 

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ Starbucks

ทีนี้ เราจะมายกตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Brand Awareness ให้เป็นที่จดจำได้ในวงกว้างกันดีกว่า ลองมาดูกันเลย

•   Starbucks

เมื่อพูดถึงธุรกิจร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks สาวกกาแฟหลายๆท่านต้องรู้จักอย่างแน่นอน Starbucks เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่สามารถสร้าง Brand Awareness ได้สำเร็จจนกลายเป็นที่รู้จักในอีกหลากหลายประเทศ ซึ่งพวกเขาเริ่มต้นจากการเป็นเพียงร้านกาแฟเล็กๆ ที่พัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นธุรกิจร้านกาแฟที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ไม่ว่าใครก็ต้องนึกถึง Starbucks เมื่อพวกเขานึกถึงกาแฟ 

โดย Starbucks มาพร้อมกับโลโก้นางเงือกที่ทุกคนคุ้นตา เมื่อเห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่านี่คือแบรนด์อะไร ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้นั้นก็มาจาก ความโดดเด่นของกาแฟที่ใครได้ลองก็ถูกปาก รวมถึงชื่อเสียงของแบรนด์ ที่ทำให้ Starbucks ได้กลายมาเป็นขวัญใจของผู้คนมากมายทั่วโลก


การวัดผล Brand Awareness เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ

เมื่อพูดถึงการวัดผลของ Brand Awareness นั้น หลายๆคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่สามารถวัดค่าได้ยาก เพราะไม่สามารถตีออกมาเป็นค่าที่เป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน ทีนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Brand Awareness ของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากพอ? 

แน่นอนว่ามีวิธี เราสามารถวัดได้ว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้น สามารถจดจำแบรนด์ของเราได้ดีแค่ไหน และวัดว่าแคมเปญการตลาดของเรานั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ หรือควรปรับแก้ตรงไหน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัดเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)

เป็นการวัดผลเกี่ยวกับจำนวนคนที่รับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ เพื่อนำมาวัดว่ามีกลุ่มลูกค้าที่สนใจแบรนด์ของคุณเยอะแค่ไหน เช่น

•   การสร้าง Traffic ด้วย Social Engagement คือการวัดผลผ่านโซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ของคุณ ว่ามีจำนวนคนเท่าไหร่ที่รับรู้ถึงแบรนด์ เช่น ยอดผู้ติดตาม (Follower)  ยอดการกดไลค์ (Like) ยอดการแสดงความคิดเห็น (Comment) ยอดการแชร์ (Share)

•   การใช้ Google Analytics  เพื่อเก็บข้อมูลจำนวน Traffic ผ่านทางหลังบ้าน ว่ามีจำนวนคนเท่าไหนที่เคยค้นหาเว็บไซต์แบรนด์ของคุณ โดยนำไปเทียบกับคนที่เข้าผ่าน Google และ Social Media หรือ มีจำนวนคนเท่าไหร่ที่เคยค้นหาชื่อแบรนด์ของคุณผ่านทาง Google ซึ่งทัั้งหมดนี้คุณสามารถดูตัวเลขได้ผ่านทาง Google Analytics นั่นเอง 

วัดเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)

เป็นการวัดผลโดยนำปัจจัยต่างๆ มาวัดให้เป็นคะแนน เพื่อดูว่าผลลัพท์ที่ได้นั้นเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยแค่ไหน โดยมีเครื่องมือเหล่านี้เข้ามาช่วยเป็นตัววัดผล เช่น

•   การทำแบบสำรวจ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะทำได้ง่าย และสามารถวัดผลได้หลากหลาย โดยให้ลูกค้าตอบคำถามตามที่แบรนด์ต้องการจะทราบ เช่น ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ ชอบแบรนด์หรือสินค้าอะไรบ้างและเพราะอะไร หรือสามารถจดจำแบรนด์ได้จากอะไรบ้าง 

•   การพูดถึงบน Social Media  โดยส่วนมากจะวัดผลจาก Hashtag บนเว็บไซต์ Twitter เพราะสามารถดูได้ว่ามีคนจำนวนเท่าไหร่ที่ใช้ Hashtag ของแบรนด์ และพวกเขาพูดถึงแบรนด์กันว่าอย่างไร


สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับ Brand Awareness

สรุป Brand Awareness

Brand Awareness คือ การรับรู้แบรนด์ของลูกค้า ซึ่งจะต้องผ่านการวางแผนเป็นขั้นตอน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่างจากคู่แข่งให้กับแบรนด์ และทำให้ลูกค้านั้นสามารถจดจำแบรนด์ของคุณได้ในทันที ซึ่งยิ่งคุณสร้าง Brand Awareness ได้แข็งแรงมากแค่ไหน แบรนด์ของคุณก็ยิ่งเป็นที่จดใจและเป็นอันดับต้นๆในใจของลูกค้ามากขึ้น

และหากท่านใดที่กำลังมีความสนใจเรื่องการตลาดออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ทาง Rocket มีบริการ รับทำการตลาดออนไลน์ และรับยิงแอด  เพื่อให้คุณเองก็สามารถเติบโตได้เหมือนกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่


เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Brand Awareness

•   Customer Relationship Management (CRM) – ระบบการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า เน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวระหว่างแบรนด์และลูกค้า เพื่อนำไปสู่ความภักดีที่มีต่อแบรนด์ และต่อยอดให้เกิดการซื้อซ้ำจากลูกค้าเก่า 

•   Omni channel – รูปแบบการทำการตลาดที่นำทุกช่องทางการติดต่อไม่ว่าจะเป็นแบบออนไลน์ หรือออฟไลน์ มาผสานเข้าด้วยกันให้เป็นอันเดียว ทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และแบรนด์ก็สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างครบถ้วน จากช่องทางที่หลากหลาย

•   Customer Segmentation – การแบ่งประเภทตามลูกค้า เพื่อให้ทราบว่าลูกค้าคือใครและเข้าใจความต้องการของพวกเขามากขึ้น เช่น อายุ เพศ หรือ Lifestyle เป็นต้น ซึ่งส่วนนี้จะทำให้แบรนด์สามารถวัดผลลัพธ์ได้ละเอียด และนำมาพัฒนาแบรนด์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าตามประเภทได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 


shapeshapeshape

ลงทะเบียน รับคำปรึกษาฟรี!

รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Martech และ Business Transformation

Rocket BLOG

MarTech knowledge to help you stay ahead of the curve.

สะสมแต้ม

บัตรสะสมแต้มคืออะไร ? ต่างจากระบบสะสมแต้มออนไลน์อย่างไร

โปรแกรมระบบสะสม แต้ม (Loyalty Programs) มีการพัฒนาอย่างมาก จากบัตรสะสมแต้มธรรมดาในอดีต สู่แพลตฟอร์มด…

#MARKETING
niche-market-คือ

Niche Market คืออะไร? มัดใจลูกค้ากลุ่มนี้อย่างไร

ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน การสร้างความโดดเด่นจากคู่แข่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่าที่เคย นี่…

#MARKETING
ตัวอย่าง-crm

ตัวอย่าง CRM ของบริษัทต่างๆ มีอะไร?

ในโลกแห่งการตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเข้าใจและใช้ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) อย่างมีประสิ…

#MARKETING

LINE

Call

Free trial

test

Contact

Contact us now

test

✓ Valid number ✕ Invalid number
This field is for validation purposes and should be left unchanged.

Stronger loyalty, through smarter engagement