Customer Acquisition Cost คำนวณค่าใช้จ่ายของลูกค้าในธุรกิจ

Customer Acquisition Cost หรือ ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการหาลูกค้า

Customer Acquisition Cost

2 เมษายน, 2024

ปัจจุบันการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการวางแผนกลยุทธ์หลากหลายวิธี ที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หรือบริการมากขึ้น และหนึ่งในกลยุทธ์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้ ก็คือ แผนการตลาดในรูปแบบ Paid Marketing ไม่ว่าจะเป็น การยิงแอดโฆษณาตามช่องทางสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือการจ้าง Influencer เข้ามาช่วยส่งเสริมการขาย ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ล้วนเป็นต้นทุนทางธุรกิจ หรือที่นักการตลาดเรียกว่า Customer Acquisition Cost (CAC) ทั้งสิ้น ดังนั้นหากต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ มีลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้า หรือบริการตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ไม่สูงมากจนเกินไป ก็ควรวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้สามารถดึงดูดลูกค้าเข้ามาได้ตามจำนวนที่ต้องการและเพิ่มผลกำไรในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักว่า CAC คืออะไร มีความสำคัญต่อธุรกิจในเรื่องไหนบ้าง และ Customer Acquisition Plan คือ การวางแผนในด้านไหน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

สารบัญบทความ hide

Customer Acquisition Cost คืออะไร?

CAC ย่อมาจาก Customer Acquisition Cost คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการเพิ่มจำนวนของผู้ซื้อ หรือ ค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจต้องใช้เพื่อทำให้ผู้ซื้อเข้ามาใช้บริการ หรือซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเสนอขาย การโฆษณา การตลาด และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยในทางปฏิบัติ CAC จะถูกคำนวณโดยการรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนผู้ซื้อที่เข้ามาใช้บริการในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อหาค่าเฉลี่ยต่อผู้ซื้อแต่ละคน การคำนวณ CAC จะช่วยทำให้ธุรกิจสามารถปรับแก้แผนกลยุทธ์ทางการตลาด และใช้งานทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มกำไรได้มากขึ้น


ความสำคัญของ Customer Acquisition Cost ต่อองค์กรและภาคธุรกิจ

Customer Acquisition Cost (CAC) เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับองค์กรและภาคธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ และไม่ว่าคุณจะมีธุรกิจประเภทใดก็ตาม การใช้ตัวชี้วัด CAC เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และมีความสำคัญต่อองค์กร หรือธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้คุณได้ทราบถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แท้จริง และสามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อธุรกิจมากที่สุด นอกจากนี้การใช้ตัวชี้วัด CAC ยังมีความสำคัญในด้านอื่นๆ ที่คุณไม่ควรมองข้าม ดังนี้

1. ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนากำไรในองค์กร

Customer Acquisition Cost (CAC) ช่วยให้องค์กรสามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพได้มากที่สุด ทำให้เกิดการวางแผนงบประมาณได้อย่างสมดุล จะช่วยทำให้คุณปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างกำไรได้ในระยะยาว

2. ใช้เป็นตัวปรับปรุงค่า ROI (Return of investment)

Customer Acquisition Cost (CAC) ช่วยให้ผู้บริหารมีความมั่นใจในการตัดสินใจลงทุนในกิจกรรมทางการตลาดและการโฆษณา อีกทั้งยังสามารถวางแผนกลยุทธ์และปรับแต่งแผนการขายให้มีความเหมาะสม เพื่อสร้างความพึงพอใจ และการกลับมาซื้อสินค้า หรือบริการซ้ำในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยทำให้องค์กรสามารถเพิ่ม ROI และกำไรในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ คือยังช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนทางการตลาดขององค์กรได้ดีมากขึ้นอีกด้วย

3. ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลตอบแทนจากการลงทุนโฆษณา

Customer Acquisition Cost (CAC) ช่วยทำให้องค์กรสามารถวางแผนและปรับแต่งการลงทุนโฆษณาอย่างเหมาะสม โดยการเลือกลงทุนในโฆษณาที่มี CAC ต่ำและได้ผลตอบแทนที่สูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ และการให้ได้มาซึ่งจำนวนลูกค้าใหม่ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้องค์กรสามารถวิเคราะห์และปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการดึงดูดลูกค้าและเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนโฆษณา ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย


Customer Acquisition Cost ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

Customer Acquisition Cost มีอะไรบ้าง

Customer Acquisition Cost (CAC) ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ธุรกิจต้องใช้ (Acquisition Cost) เพื่อทำให้ผู้ซื้อมาเข้าใช้บริการ หรือซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีองค์ประกอบในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้

•  ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เช่น ค่าโฆษณาบนสื่อต่าง ๆ

•  ค่าใช้จ่ายในการตลาดและโปรโมชัน เช่น ค่าจ้างพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาด, ค่าจ้างโฆษณา, ค่าส่วนลดสำหรับลูกค้าใหม่, ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมโปรโมชัน เป็นต้น

•  ค่าใช้จ่ายในการสร้างและบำรุงเว็บไซต์หรือแอป เช่น ค่าพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์, ค่าบำรุงรักษาและอัพเดตแอปพลิเคชัน

•  ค่าใช้จ่ายในการจ้างบุคลากรหรือทีมงาน เช่น ค่าเงินเดือนของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการขาย

•  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมการขาย เช่น ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนลูกค้า, ค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้า

•  ค่าใช้จ่ายในการวิจัยตลาด เช่น ค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยเกี่ยวกับตลาดและกลุ่มเป้าหมาย

•  ค่าใช้จ่ายในการทดลองและทดสอบ เช่น ค่าใช้จ่ายในการทดลองโฆษณา, ค่าใช้จ่ายในการทดสอบและปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด

เมื่อนำค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้มารวมกัน จะช่วยให้องค์กรสามารถคำนวณค่าเฉลี่ยการซื้อของลูกค้าแต่ละคนได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญในการวิเคราะห์ความสำเร็จของธุรกิจในด้านการตลาดเป็นอย่างดี


สูตรการคำนวณ Customer Acquisition Cost 

สูตรการคำนวณ Customer Acquisition Cost (CAC) จะถูกคำนวณแบบ CPA หรือ cost per acquisition คือ การรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตลาด และการดึงดูดลูกค้าในระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำมาหารด้วยจำนวนลูกค้าที่ได้รับในระยะเวลานั้น เพื่อหาค่าเฉลี่ยในการซื้อสินค้า หรือบริการของลูกค้าแต่ละคน

สำหรับสูตรทั่วไปสำหรับการคำนวณ CAC คือ

CAC = (ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดึงลูกค้าในเวลาที่กำหนด) / (จำนวนลูกค้าที่ได้มาในระยะเวลาที่กำหนด)

ตัวอย่าง:

ถ้าธุรกิจ A ใช้เงินในการโฆษณา 10,000 บาท และได้รับลูกค้าใหม่จำนวน 100 คน ในระยะเวลา 1 เดือน

CAC = (10,000 บาท) / (100 คน) = 100 บาท/คน

ดังนั้น CAC สำหรับธุรกิจ A ในกรณีนี้คือ 100 บาทต่อลูกค้า 1 คน

ทั้งนี้ควรระวังในเรื่องการคำนวณ CAC เพราะอาจมีการตีความ และการนับค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ และอาจต้องปรับเปลี่ยนสูตร หรือแก้ไขตามสถานการณ์และความต้องการของธุรกิจในแต่ละครั้ง


วิธีการปรับปรุง Customer Acquisition Cost ทำได้อย่างไรบ้าง

การปรับปรุง Customer Acquisition Cost

การปรับปรุง Customer Acquisition Cost (CAC) เป็นกระบวนการสำคัญ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณและทรัพยากรในการดึงดูดลูกค้า ซึ่งมีรูปแบบการทำ Customer Acquisition strategy คือ การวางแผนกลยุทธ์ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. ปรับปรุงและพุ่งเป้าไปที่การเพิ่ม Conversion Rate

การปรับปรุง CAC ด้วยการเพิ่ม Conversion Rate ในเรื่องต่างๆ เช่น การปรับปรุงเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย , การจัดแสดงสินค้าให้มีความน่าสนใจ , การจัดโปรโมชันส่วนลด หรือการสร้างเนื้อหาที่คุณค่าต่อผู้เข้ามาเยี่ยมชม เป็นต้น จะช่วยทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเลือกซื้อสินค้า หรือบริการมากขึ้น

2. สร้าง Customer Values ที่และมีประสิทธิภาพ

การปรับปรุง CAC ด้วยการสร้าง Customer Values จะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการดึงดูดลูกค้าใหม่ และลด CAC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับการศึกษา และเข้าใจความต้องการรวมไปถึงความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุดด้วย

3. ใช้เป็นตัวช่วยในการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

ปรับปรุง CAC ด้วยการใช้ CRM เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละราย และนำมาปรับปรุงกระบวนการการขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า การติดตามและประเมินผลจากกิจกรรมทางการตลาด การใช้ข้อมูลจาก CRM จะสามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดและโปรโมชันที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ประเมินและพิจารณา CRM ไปพร้อมกับ CLV เป็นประจำสม่ำเสมอ

การเลือกใช้ CRM เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ทำให้สามารถวางแผนการโฆษณา และกำหนดแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด และจัดทำโปรโมชันให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และมี Customer Lifetime Value (CLV) สูง โดยตรวจสอบผลตอบแทนจากการลงทุนและการดึงดูดลูกค้า (CAC) โดยพิจารณาร่วมกับ CLV จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและปรับปรุงแผนได้ตรงกับต้องการ

5. ระบุ Persona ของธุรกิจให้ชัดเจน

ปรับปรุง CAC ด้วยการระบุ Persona โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจความต้องการ, ความสนใจ, และพฤติกรรม รวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ เช่น อายุ, เพศ, อาชีพ, ความสนใจ หรือ ปัจจัยทางสังคม และนำข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาและวิเคราะห์ มาสร้างแผนการการตลาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้การปรับปรุงกลยุทธ์การโฆษณา เป็นไปตามความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและปรับประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร

ปรับปรุง CAC ด้วยการจัดการข้อมูลลูกค้า โดยทำการบันทึกข้อมูลการติดต่อกับลูกค้า, ประวัติการซื้อ, และพฤติกรรมอื่น ๆ ของลูกค้า ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยทำให้การใช้ CRM สามารถสร้างกลยุทธ์การตลาดที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าและลด CAC ได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนในทางการตลาดได้ในระยะยาว

7. การ Retargeting มีข้อดีอย่างไร

กำหนดเป้าหมายที่ต้องการ Retarget โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันที่แสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีความสนใจในสินค้า หรือบริการ การติดตามเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียกดูของลูกค้า จะช่วยทำให้การสร้างโฆษณาที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ การเลือกช่องทางการโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย การติดตามผลการ Retargeting และประเมินผลการโฆษณาโดยใช้ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราการคลิก, อัตราการแปลง, และกำไรที่มาจากกลุ่มเป้าหมายที่ Retarget อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ได้ผลลัพธ์จากการ Retargeting และปรับปรุงโครงการต่อไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลด CAC และเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนในการโฆษณา


สรุป Customer Acquisition Cost ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการหาลูกค้า

Customer Acquisition Cost (CAC) เป็นตัวชี้วัดที่ใช้วัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องใช้เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ให้กับธุรกิจ หรือองค์กร ซึ่งในการวัด CAC เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และทำให้เกิดผลสำเร็จได้ในระยะยาว   ทั้งนี้ในการวัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทางการตลาด จะมีวิธีการปรับปรุงในด้านต่างๆ เข้ามาช่วยทำให้ทราบถึง CAC ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ โดยการรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดลูกค้าใหม่ , การปรับปรุง CAC ที่ช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดลูกค้า หรือเพิ่มจำนวนลูกค้าในระยะเวลาที่กำหนด , การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยลด CAC , การ Retargeting ช่วยให้สามารถวางแผนโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจกับลูกค้าในระยะยาว หรือการติดตามและประเมินผลของกิจกรรมทางการตลาดที่เกิดขึ้น โดยการใช้ CAC เป็นตัวชี้วัดหลัก เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต

ในการที่จะสามารถลดค่าใช้จ่ายที่มีต่อลูกค้า 1 คนได้ การทำ Digital Marketing นับว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเดี๋ยวนี้มีการซื้อในช่องทางโซเชียลเป็นหลัก และเพื่อที่จะพิชิตชัยก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผน Marketing Plan ด้วย ซึ่งทาง Rocket ก็มีบริการ รับทําการตลาดออนไลน์ อย่างครบถ้วน ที่จะสามารถลดต้นทุนและเพิ่มยอดขายได้ในเวลาเดียวกัน


 


shapeshapeshape

ลงทะเบียน รับคำปรึกษาฟรี!

รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Martech และ Business Transformation

Rocket BLOG

MarTech knowledge to help you stay ahead of the curve.

Line Mini App

Line Mini App คืออะไร? จำเป็นต่อแบรนด์คุณหรือไม่?

  ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ ต้องหาทางดึงดูดลูกค้าที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนโทรศัพท์มือถือ …

#MARKETING
Hubspot CRM

Hubspot คืออะไร จำเป็นต่อแบรนด์อย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่า Hubspot คืออะไร? ทำไม Hubspot CRM ถึงถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในหมวดหมู่ เทคโนโลยีท…

#MARKETING
Customer Churn

Customer Churn คือการสูญเสียลูกค้าประจำที่ทุกธุรกิจไม่ควรปล่อยปละละเลย

การทำธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้รอบด้าน เพื่อทำให้สินค้า หรือบริ…

#MARKETING

ติดต่อทีมงานฟรี

แอดไลน์

Now, you can engage like a digital giant